งานศิลป์จะเชื่อมเราเข้ากับ ความโกลาหลที่สร้างสรรค์ ได้ไหม

งานศิลป์จะเชื่อมเราเข้ากับ ความโกลาหลที่สร้างสรรค์ ได้ไหม

เหมือนเช่นปีที่แล้ว โลโก้ Connected Ink 2021 ได้ถูกออกแบบสร้างสรรค์โดยซาโตรุ โคบายาชิ ศิลปินผู้ใช้ชีวิตอยู่ในเมืองฮานามากิ จังหวัดอิวาเตะ ประเทศญี่ปุ่น โลโก้นี้เกิดขึ้นได้จากมิตรภาพระหว่างคุณทาคาชิ อิตางาคิ ผู้กำกับฝ่ายศิลป์ของหอศิลป์ Runbinii Art Museum ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนการเดินทางเส้นทางสายศิลป์ของซาโตรุ และมิตรภาพกับโนบุ อิเดะ ประธานและประธานกรรมการบริหารของ Wacom

โนบุ: "ในวินาทีที่ผมเห็นภาพโลโก้ ผมรู้สึกได้ว่าแนวคิด 'ความโกลาหลที่สร้างสรรค์' ที่ Connected Ink ตั้งเป้าไว้นั้นสื่อออกมาได้ดีมาก ลายเส้นที่สื่อถึงความอลหม่านตั้งแต่แรกเห็น แต่จริงๆ แล้วกลับเชื่อมโยงถึงกันหมด ลายเส้นหนักๆ ปาดไปยังพื้นที่ที่เชื่อมต่อกันหมด และเส้นสีสันสนุกสดใสปาดทับเลยออกไปนอกเส้นเล็กน้อย ผมรู้สึกกระชุ่มกระชวยเอ่อล้นออกมาเมื่อได้ดูโลโก้นี้ แม้ว่าผมจะไม่ได้ตีกรอบอะไรให้เขาเลย แต่ซาโตรุก็ยังสื่องานศิลป์ออกมาได้อย่างน่าอัศจรรย์และก็ยังทรงพลังมากด้วย งานศิลป์ของเขาทำให้ผมเชื่อว่าความคิดสร้างสรรค์ของคนเราเชื่อมโยงกันลึกซึ้งจนประเมินค่าไม่ได้"

ในตอนแรกโนบุก็ไม่มั่นใจที่จะให้ซาโตรุใช้ผลิตภัณฑ์ของ Wacom มันดูไม่เป็นการให้เกียรตินักที่จะเข้าไปยุ่งเกี่ยวในวิถีทางส่วนตัวของศิลปิน

อิตางาคิ: "ผมทึ่งมากกับความคิดสร้างสรรค์ของ Wacom ที่เลือกให้ซาโตรุมาออกแบบสัญลักษณ์ของอีเวนท์ที่สื่อถึงอนาคตแห่งการสร้างสรรค์ของมนุษยชาติ" ซาโตรุมีความผิดปกติด้านจิตใจที่เขาต้องอยู่กับมันมาตลอดทั้งชีวิต งานของเขาล้ำหน้าเกินปัญญา เขาสามารถเข้าถึงวิธีการแสดงออกแสนพิเศษด้วยการยืนอยู่ในห้วงความรู้สึกอันลึกซึ้งที่ไม่ฟุ้งซ่านไปด้วยคำพูดหรือความคิดใดๆ คุณอิเดะเป็นห่วงว่าคำขอของพวกเขาจะเข้าไปรบกวนวิถีการแสดงออกของซาโตรุ แต่ซาโตรุก็มีสิทธิที่จะมีส่วนร่วมกับโลกที่เขาสัมผัสได้ เพราะอย่างนั้นเขาก็ดูตื่นตากับการใช้ผลิตภัณฑ์นี้
เราได้เปรียบจากการที่ปี 2020 เราต้องประสบกับปัญหาการระบาดของ coronavirus และข้อห้ามมากมายที่กระทบกับงานอีเวนท์ ในตอนนี้ Connected Ink 2020 เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากเมื่อเทียบกับอดีต งานนี้ถูกจัดเป็นงานอีเวนท์ผสมผสานที่จัดทั้งในสถานที่จริงและบนโลกออนไลน์ นับตั้งแต่ที่องค์ประกอบแบบผสมผสานทำให้ทั้งโลกสามารถเข้าร่วมได้ Wacom ตัดสินใจที่จะจัดงานนานถึง 27 ชั่วโมงเพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้คนจากสถานที่ต่างๆ ทั่วโลกได้เข้าร่วมแม้เวลาจะต่างกัน
โนบุ: "ปีที่แล้ว งาน Connected Ink จัดอยู่นาน 27 ชั่วโมง แต่ผมรู้สึกว่าเราได้เริ่มการเดินทางอันยาวนานที่ไม่ได้จบแค่ 27 ชั่วโมง แม้แต่ตอนนี้เราก็ยังอยู่ระหว่างการเดินทางในการตั้งคำถาม 'เราจะให้กำเนิดอะไรได้บ้างจากความโกลาหลที่สร้างสรรค์' และในปีนี้ Connected Ink 2021 ก็กำลังจะจัดชึ้นเพื่อตอบคำถามนี้ อย่างไรก็ตาม ผมยังต้องการที่จะพัฒนาองค์ประกอบใหม่ๆ ในทุกปี ไม่ใช่ใช้แต่สิ่งที่เรามีมาก่อน และเพื่อแสดงให้เห็น เราจึงขอให้สร้างโลโก้ใหม่ของปีนี้ด้วยการใช้โลโก้ของปีที่แล้วให้ดีที่สุด"

ดังนั้น โลโก้ Connected Ink 2021 จึงถือกำเนิดขึ้นมา โดยการลงสีให้กับโลโก้สีโมโนโครมและเพิ่มเลข 1 ที่สื่อถือปี 2021 เข้ามา มันไม่ได้เป็นแค่งานอีเวนท์ชั่วคราวแต่กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของชุมชนในการเดินทางควบคู่ไปกับศิลปะ เทคโนโลยี และการเรียนรู้

เซสชันและคน ที่เกี่ยวข้อง

เซสชันและคน ที่เกี่ยวข้อง